เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อจฺฉริยมนุสฺโส แปลว่า มนุษย์อัศจรรย์.

บทว่า อจฺฉริโย ความว่า ไม่มีเป็นนิตย์ เหมือนตาบอดขึ้น
ภูเขา. นัยแห่งศัพท์เท่านี้ก่อน แต่นัยแห่งอรรถกถาดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรแก่การปรบมือ. อธิบายว่า ควรปรบมือ
แล้วมอง.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มนุษย์อัศจรรย์ แม้เพราะประกอบ
ด้วยธรรมอันไม่เคยมี น่าอัศจรรย์หลายประการ มีอาทิอย่างนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันไม่เคยมีน่าอัศจรรย์ 4 ประการ ย่อมมี
ปรากฏ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ. ชื่อว่า
อัจฉริยมนุษย์ เพราะเป็นมนุษย์ที่เคยสั่งสมมาก็มี.
จริงอยู่ การที่พระองค์ทรงประชุมธรรม 8 ประการ อันจะ
ทำให้อภินีหารเพียบพร้อม แล้วทรงผูกพระมันสประทับนั่ง ณ
มหาโพธิมัณฑสถาน ต่อพระพักตร์ ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
ใคร ๆ อื่น มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์พระองค์เดียว
เท่านั้นสั่งสมมา. อนึ่งแม้การที่พระองค์ ได้รับพยากรณ์ในสำนัก
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่หวนกลับหลัง อธิษฐานความเพียร
แล้วบำเพ็ญพุทธการกธรรม ใคร ๆ อื่น มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระ-
สัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้น เคยสั่งสมมา. อนึ่งพระองค์ทรงบำเพ็ญ

พระบารมีให้แก่กล้า (ยังพระบารมีให้ถือเอาห้อง) ดำรงอยู่ในอัตภาพ
เช่นเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร บำเพ็ญสัตตสตกมหาทาน (ของ
7 สิ่ง สิ่งละ 700) มีอาทิอย่างนี้ คือ ช้าง 700 ม้า 700 ประดับด้วย
เครื่องอลังการพร้อมสรรพ มอบพระโอรสเช่นพระชาลีกุมาร พระธิดา
เช่น กัณหาชินา และพระเทวี เช่นพระนางมัทรี ไว้ในมุขแห่งทาน ดำรง
อยู่ตลอดอายุในอัตภาพที่ 2 ทรงถือปฏิสนธิในภพชั้นดุสิต ซึ่งใคร ๆ อื่น
มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้นเคยสั่งสมนา. แม้การ
ที่พระองค์ทรงดำรงอยู่ในภพชั้นดุสิตตลอดอายุ ทรงรับการเชิญของ
เทวดาทั้งหลาย ทรงตรวจดูมหาวิโลกิตะ 5 อย่าง ทรงมีพระสติ
และสัมปชัญญะ จุติจากดุสิต ถือปฏิสนธิในตระกูลที่มีโภคะมาก
ซึ่งใคร ๆ อื่นมิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้นเคยสั่งสม
มา อนึ่งหมื่นโลกธาตุไหวในวันถือปฏิสนธิก็ดี การที่พระองค์ทรงมี
พระสติสัมปชัญญะอยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี การที่หมื่น
โลกธาตุไหว แม้ในวันที่พระองค์ทรงมีพระสติสัมปชัญญะเสด็จออก
จากพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี การที่พระองค์ประสูติในเดี๋ยวนี้
แล้วเสด็จย่างพระบาทได้ 7 ก้าวก็ดี การกางกั้นเศวตฉัตรอันเป็นทิพย์
ก็ดี การโบกพัดด้วยวาลวีชนีอันเป็นทิพย์ก็ดี การที่พระองค์ทรงเหลียวดู
อย่างสีหะไปใน 4 ทิศ ไม่ทรงเห็นสัตว์ไร ๆ ที่จะเสมอเหมือนพระองค์
แล้วทรงบันลือสีหนาทอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้เลิศของโลกก็ดี การที่
หมื่นโลกธาตุไหว ในขณะที่พระองค์ทรงละราชสมบัติ เมื่อพระญาณ
แก่กล้า แล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็ดี การที่พระองค์ประทับ
นั่งสมาธิ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน ทรงชนะมารเป็นต้นไปแล้ว
ทรงชำระปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และทิพจักขุญาณ ทรงทำ

หมื่นโลกธาตุให้ไหว ขณะทรงแทงตลอดกองคุณคือพระสัพพัญญุตญาณ
ในเวลาใกล้รุ่งก็ดี ประกาศพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ซึ่งมี
วนรอบ 3 รอบ ด้วยปฐมเทศนาก็ดี ความอัศจรรย์ทั้งหมดดังกล่าว
มาอย่างนี้เป็นต้น ใคร ๆ อื่นมิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
เท่านั้นเคยสั่งสมขมา. ชื่อว่า มนุษย์อัศจรรย์ เพราะเป็นมนุษย์เคย
สั่งสมมาดังนี้บ้าง ด้วยประการอย่างนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาลกิริยา ความว่า ชื่อว่า กาลกิริยา เพราะกิริยาที่
ปรากฏในกาลครั้งหนึ่ง. จริงอยู่ พระตถาคต ทรงดำรงอยู่ 45 พรรษา
ทรงประกาศ ปิฎก 3 นิกาย 5 สัตถุศาสน์มีองค์ 9 พระธรรมขันธ์
84,000 พระธรรมขันธ์ ทรงกระทำมหาชน ให้น้อมไปในพระนิพพาน
โอนไปในพระนิพพาน บรรทมระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ตรัสเรียกภิกษุ
สงฆ์มา ทรงโอวาทด้วยความไม่ประมาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ
เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, กาลกิริยานี้ของพระ-
ตถาคตนั้นปรากฏมาจนกระทั่งกาลวันนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
กาลกิริยา เพราะเป็นกิริยาที่ปรากฏในเวลาหนึ่ง. บทว่า อนุตปฺปา
โหติ
แปลว่า กระทำความเดือดร้อนตาม (ภายหลัง). ในข้อนั้น